Site icon Getwellsoonxoxo

การอยู่กับคนบางคน คือการชดใช้กรรม

คุณอาจกำลังชดใช้กรรมอยู่ วันนี้คุณอยู่กับคนแบบไหน

ถาม : ต้องอยู่ร่วมกับคนโกหก ไร้ความรับผิดชอบ โดยไม่สนว่าเราต้องลำบากเพราะเขามากมาย เราจะทำยังไงให้เขาคิดได้คะ?

ดังตฤณ : การแก้ปัญหาข้างนอกกับคนบางคนนั้นยากครับ การไม่อยู่ร่วมกับคนบางคน บางทีก็เป็นไปไม่ได้ ระลึกไว้แล้วกันว่า วันหนึ่งเราจะผ่านอะไรแบบนี้ไปในที่สุด อย่างน้อยระหว่างนี้ก็จะได้ไม่ต้องเป็นทุกข์ทางใจเพิ่มนะ

.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..

ถาม : กับคนที่รู้สึก ‘เคมีไม่เข้ากัน’ โดยไม่มีเหตุมีผล จะถอนความIกลียดอย่างไรดีครับ?

ดังตฤณ: จะโยงไปถึงอดีตกรรมหรืออะไรที่ลึกลับก็ตาม เมื่อรู้สึกถึงอารมณ์ที่ปราศจากเหตุผลรองรับ เราก็ต้องอาศัย ‘เหตุผลที่จับต้องได้’ มาแก้กันครับ เช่น ถามตัวเองว่าเห็นใครแล้ว โยงไปถึงอารมณ์ไหนที่เคยเกิดกับใครได้บ้าง หรือได้ยินเสียงแล้วเกิดทุกขเวทนาแบบรำคาญหรืออึดอัด ฯลฯ พอวิเคราะห์ไปเรื่อยๆ เหตุผลจะเข้ามามากขึ้น ความเข้าใจจะเกิดเพิ่มขึ้น กระทั่งในที่สุด อารมณ์อันเป็นทุกข์หายไปได้เอง

.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..

ถาม : ถ้าเราอยากขจัด อารมณ์Iกลียดชัง จะต้องทำอย่างไรคะ

ดังตฤณ :

๑) เห็นโทษของความIกลียดชังว่า
ทำให้ใจเป็นทุกข์เหมือนอยู่ในถ้ำมืด
เห็นเข้ามาที่สภาพทางใจจริงๆ
ทุกครั้งที่รู้สึกIกลียดขึ้นหน้า

๒) เห็นคุณของการคลายความIกลียด
ที่เหมือนออกจากถ้ำสู่ที่โล่งสว่าง
เห็นเข้ามาที่สภาพทางใจจริงๆ
ทุกครั้งที่รู้สึกว่าความIกลียดอ่อนกำลังลง

๓) จำอาการไม่Iกลียดไว้ ระลึกถึงภาวะนั้น
ทุกครั้งที่ใบหน้าอันเป็นที่ตั้งของความIกลียด
แวบเข้ามาในใจเรา

.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..

ถาม : ตอนนี้จิตมีแต่โทสะ พยายามแผ่เมตตาให้เขา แต่รู้สึกได้ว่ายังไม่มีเมตตาจริงๆ ควรทำอย่างไรคะ?

ดังตฤณ: ถ้ายังไม่มีความสุขอยู่บ้าง อย่าพยายามฝืนแผ่เมตตา ให้เริ่มจาก ‘การทำความเข้าใจเหตุผลของเขา’ จนเข้าใจ เมื่อเข้าใจก็อภัยได้ อภัยได้ก็สุข

.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..

ถาม : เป็นคนเจ้าคิดเจ้าแค้n การคิดหาเหตุผลมาทำให้รู้สึกหายแค้n ช่วยได้แค่ชั่วคราว เดี๋ยวก็รู้สึกอภัย อยากให้สิ่งดีๆกับเขา เดี๋ยวก็กลับแค้nขึ้นมาใหม่อีกที่คนๆนั้นมีความสุข อยากให้เค้าทุกข์ ต้องทำอย่างไร?

ดังตฤณ : การคิด ทำให้ได้คิด ทำให้จิตคลายออกด้วยเหตุผล แต่ความคิดเป็นระลอกคลื่นที่เข้มข้นแล้วเจือจางได้ ไม่ว่าจะคิดดีหรือคิดไม่ดี อารมณ์จึงขึ้นๆลงๆตามความคิดได้ง่าย เมื่อไหร่คิดได้ก็เย็นลง เมื่อไหร่คิดไม่ได้ก็ร้อนขึ้น

พระพุทธเจ้าจึงสรรเสริญ การแผ่เมตตาจัดการความโกรธIกลียด เพิ่มเติมเข้าไปกับการคิดพิจารณาแบบโยนิโสมนสิการ เนื่องจากการแผ่เมตตา ทำให้จิตอิ่มสุข และเมื่อแผ่เป็นอาจิณ ย่อมสุขจริงยั่งยืน สุขมากพอที่จะไม่อยากไปถือโทษโกรธเคืองใครนาน

.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..

ถาม : อดีตสามีเคยทำผิดกับเรา ต่อมาเขาสำนึกผิดมาขอโทษ ก็บอกว่าให้อภัยทุกอย่าง ยังพูดจากันด้วยดี แต่ดิฉันบอกว่าไม่ขอลืมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อันนี้นับเป็นการให้อภัยอโหสิกรรมหรือเปล่าคะ?

ดังตฤณ : ประสบการณ์ที่เจ็บปวด ใครบอกว่าลืมก็โกหกแล้วครับ คีย์เวิร์ดของกรณีนี้คือ ‘ยังพูดจากันด้วยดี’ ถ้าทำดีต่อกันแล้วไม่รื้อฟื้น ไม่ขุดคุ้ยมาทำให้คิดไม่ดีต่อกัน ก็จัดเป็นการอภัยเต็มรูปแบบครับ

.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..

ถาม : ถ้าเราไม่โกรธคนที่ทำไม่ดีกับเรา แต่เรากลับรู้สึกเฉยๆ ถึงขั้นเย็นชา อย่างนี้น่ากลัวไหมค่ะ?

ดังตฤณ : อารมณ์น่ากลัวมีอยู่ชนิดเดียว คือ โกรธแล้วอยากเบียดเบียนกัน หรือประทุษร้iยตอบ ความเย็นชาก็มีข้อดีครับคือหยุดเราไว้หลังเส้นเริ่มต้นทำร้iยทำลiยกัน และเมื่อมีสติรู้จักความเย็นชา เห็นว่าพอมันพอกๆหนาๆ เดี๋ยวก็เบาๆบางๆลงไป ในที่สุดก็แปรเป็นอุเบกขาดีๆได้เอง

.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..

ถาม : ทำอย่างไรจึงลดการใช้อารมณ์ลงได้เรื่อยๆครับ?

ดังตฤณ : มีทางเดียวคือเจริญสติอยู่เรื่อยๆครับ และอาจต้องใช้เวลากันครึ่งชีวิต หรือทั้งชีวิต

.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..

ถาม : รู้สึกตัวว่าเจออะไรไม่ได้ดั่งใจก็หงุดหงิด อยากเลิกนิสัยแบบนี้ค่ะ

ดังตฤณ : อย่าไปจัดการกับอาการหงุดหงิดครับ มองให้เห็นว่าความรู้สึกไม่พอใจมันอยู่ตรงไหน ถ้าเห็นความอึดอัดคับข้องว่า ‘เป็นแค่แรงดัน’ มากน้อยก็จบ

.. .. .. .. .. .. .. .. .. ..

ถาม : พวกความขัดใจเล็กๆ มีสติปุ๊บ ดับหายปั๊บ แต่โทสะแรงๆเห็นก็เห็นนะคะ แต่ยังทำให้ช้ำใจอยู่ ซ้ำร้ายบางครั้งยังสบถออกไป รู้สึกอุบาทว์ตัวเอง นี่คือยังรู้สึกตัวไม่จริงใช่ไหมคะ?

ดังตฤณ : อย่าเพิ่งไปวัดผลเอาครับ ว่าจริงไม่จริง มีสติคุณภาพดีหรือไม่ดี เอาแค่เรา ‘กำลังทำจริง’ แบบสะสมต่อเนื่องไปเรื่อยๆ นับว่าน่าพอใจแล้ว เพราะเมื่อโทสะเล็กๆหาย รากฐานโทสะใหญ่ๆก็สั่นคลอนด้วยเหมือนกัน ไม่ใช่โทสะใหญ่ๆแผดเผาแปลว่าไม่มีอะไรดีขึ้นเลย ที่ต่อสู้มานั้น ถูกทางชนะแล้วครับ เพียงแต่จำนวนก้าวยังไม่มากพอเท่านั้น ก้าวต่อไปนะ

ขอบคุณเรื่องราวดีๆ โดย dungtrin 

Thank you photo by pexels, unsplash 

Exit mobile version